'.$description; ?>

Heading for Printing

การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะ
 

ฝากถึงคุณแม่คุณพ่อ - การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะ

บทความสำหรับพ่อแม่

วันที่ เรื่อง ผู้แต่ง
24 พ.ค. 2564ที่พักใจในยามที่ใจถูกรุมเร้าชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
6 พ.ค. 2563สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคมสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
15 มี.ค. 25636 เคล็ดลับที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุขกิตติมา สุริยกานต์
4 มี.ค. 2563เข็น ...ใจชุติมณฑน์​ ปัญญาคำ
8 พ.ย. 2562รู้เท่าทันอารมณ์ชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
12 ก.ย. 2562เรื่องเล่าจากห้องตรวจ ตอนที่ 1 รองเท้าของหนูอาทิติยา แดงสมบูรณ์
21 ม.ค. 2562การสร้างวินัยเชิงบวกกิตติมา สุริยกานต์
3 ม.ค. 2562ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
22 ต.ค. 2561โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
20 ก.ย. 2561อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังกิตติมา สุริยกานต์
20 ส.ค. 2561การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะกิตติมา สุริยกานต์
15 ส.ค. 2561บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์สุฑาทิพย์ คำเที่ยง
16 ก.ค. 2561สร้างคุณค่าในตนเอง เสริมภูมิคุ้มกันในชีวิตสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
19 มิ.ย. 2561ไม่มีที่พักเมื่อจะมาพบแพทย์กิตติมา สุริยกานต์
20 เม.ย. 2561ค่าเดินทางสำคัญอย่างไรกิตติมา สุริยกานต์
6 ก.ค. 2560มาผิดวันนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะ

เล่าเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 61
โดยกิตติมา สุริยกานต์

หนึ่งคนป่วย หลายคนเจ็บ เป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นภาพการที่ครอบครัวต้องเผชิญกับการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่แต่ผู้ป่วยที่จะต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยเพียงคนเดียว แต่รวมถึงผู้ที่ดูแลไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา บุตรหรือญาติพี่น้อง ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย หากเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง หรือมีความพิการมาแต่กำเนิด ด้วยแล้ว ครอบครัวต้องปรับตัว ปรับใจ เตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก หลายครอบครัวที่ไม่สามารถปรับตัวได้ย่อมส่งผลต่อการรักษาพยาบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคทีมีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มีความพิการแต่กำเนิด บิดามารดามักไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยของบุตรได้ในช่วงแรก มักไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจหรือทราบมาก่อน เมื่อบุตรมีความผิดปกติ จึงมีผลกระทบต่อจิตใจเช่น ความรู้สึกเสียใจ ผิดหวัง ความรู้สึกว่าตนเองไม่สมบูรณ์ ในการตั้งครรภ์ ล้มเหลว รู้สึกผิดพลาด ไม่กล้ามีบุตรคนต่อไป และหากเกิดในครอบครัวที่มารดามีความพยายามที่จะทำแท้งแต่ไม่สำเร็จ มารดาจะมีความรู้สึกผิดมาก โทษตัวเองที่เป็นสาเหตุของความผิดปกติ บางรายอาจมีภาวะซึมเศร้า ท้อแท้ และพบว่าในบางครอบครัว ผู้ปกครองบางราย ยอมรับความเจ็บป่วยไม่ได้ ไม่อยากมีภาระในการเลี้ยงดู ทอดทิ้งผู้ป่วย มีปัญหาความสัมพันธ์กับคู่สมรส และเกิดการหย่าร้างในที่สุด หรือบางรายเลือกที่หลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูเพราะความไม่สบายใจ ใช้วิธีทำงานอย่างหนักและทิ้งภาระไว้ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเลี้ยงดูอยู่เพียงลำพัง นอกจากนี้หากต้องใช้เวลาในการรักษาพยาบาลยาวนาน อาจส่งผลทำให้ครอบครัวมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเช่น ค่าแพมเพิรส ค่าเวชภัณฑ์อุปกรณ์ที่ไม่สามารถเบิกได้ในสิทธิ ค่าเดินทาง ค่าครองชีพ ส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลไม่ต่อเนื่อง ปฏิเสธการรักษา โดยเฉพาะหากครอบครัวขาดญาติพี่น้องที่จะให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจ เศรษฐกิจ ยิ่งส่งผลให้ผู้ดูแลมีความเครียด ความวิตกกังวล สูง ต่อการดูแลผู้ป่วยอีกด้วย

ความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะเป็นความพิการที่มองเห็นอย่างชัดเจน แม้จะได้รับการผ่าตัดแล้วก็อาจจะทิ้งร่องรอย แผลหลังจากการผ่าตัดให้เห็นอยู่บ้าง หรือผู้ป่วยที่มีความพิการภาวะใบหูเล็กกว่าปกติ (Microtia) อาจจะมีใบหูพิการ จะได้รับการผ่าตัดช่วงอายุ 10 ปีขึ้นไป เพราะต้องรอร่างกายมีปริมาณกระดูกอ่อนซี่โครงเพียงพอจะใช้สร้างใบหูใหม่ได้ ผู้ป่วยหลายรายเผชิญปัญหาการถูกล้อเลียนจากเพื่อนระหว่างที่รอการผ่าตัด ส่งผลต่อสภาพจิตใจและการดำรงชีวิตของผู้ป่วย เช่นผู้ป่วยรายหนึ่ง มีความพิการไม่มีใบหูข้างซ้าย แต่การได้ยินยังปกติดี ถูกเพื่อนและญาติพี่น้องรวมถึงเพื่อนบ้านล้อเลียนสภาพความพิการตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้ผู้ป่วยเลือกที่จะเรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียน เพราะไม่อยากจะไปโรงเรียนและไม่อยากออกจากบ้านทุกวัน เกิดความไม่มั่นใจ และโกรธแค้นผู้ที่ล้อเลียนซึ่งส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยส่งผลถึงผู้ดูแลซึ่งส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่จะเกิดความรู้สึกสงสาร ทุกข์ทรมานใจต่อการเจ็บป่วยไปด้วย นักสังคมสงเคราะห์จึงมีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ ดูแลสภาพจิตใจทั้งผู้ป่วยรวมถึงผู้ดูแล เพื่อช่วยให้เกิดการยอมรับความเจ็บป่วยไปพร้อม ๆกัน การทำให้ผู้ดูแลมีความเข้าใจที่ถูกต้องในโรคของผู้ป่วย เป็นคนกลางที่จะสะท้อนให้ครอบครัว เข้าใจในอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วย วิธีการดูแลเลี้ยงดูที่ถูกต้อง การใช้การสื่อสารเชิงบวกในการเลี้ยงดูบุตร การพยายามให้บุตรช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด ไม่เลี้ยงดูเสมือนว่าเป็นคนป่วยหรือคนพิการ การให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแล ในการหาวิธีผ่อนคลายความเครียดจากการดูแลผู้ป่วย พร้อมทั้งหาเครือข่ายญาติพี่น้อง ในการเป็นตัวช่วยในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน และร่วมวางแผนในการดูแลในด้านเศรษฐกิจ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ โดยเงินกองทุนในโครงการต่าง ๆ ของศูนย์สมเด็จพระเทพรัตน์ฯแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะหรือการประสานทรัพยากรจากภายนอก ในการช่วยเหลือด้านการศึกษาและอาชีพต่าง ๆ ด้วย

นอกจากนี้การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะผู้ดูแลผู้ป่วยไม่เพียงแต่ต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการดูแลให้ผู้ป่วยให้หายจากอาการเจ็บป่วย การสร้างความรู้ความเข้าใจในการเป็นผู้ดูแลอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการให้คำแนะนำให้ผู้ดูแลรู้สึกผ่อนคลายความเครียดและความกดดัน ในการดูแลผู้ป่วย การรับฟังสภาพปัญหาต่าง ๆ ร่วมวางแผนและช่วยปรับสมดุลของครอบครัวที่อาจจะเสียไปจากการมีคนป่วยในครอบครัว จึงมีส่วนช่วยในการรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพอีกทางหนึ่ง