'.$description; ?>

Heading for Printing

ค่าเดินทางสำคัญอย่างไร
 

ฝากถึงคุณแม่คุณพ่อ - ค่าเดินทางสำคัญอย่างไร

บทความสำหรับพ่อแม่

วันที่ เรื่อง ผู้แต่ง
24 พ.ค. 2564ที่พักใจในยามที่ใจถูกรุมเร้าชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
6 พ.ค. 2563สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคมสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
15 มี.ค. 25636 เคล็ดลับที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุขกิตติมา สุริยกานต์
4 มี.ค. 2563เข็น ...ใจชุติมณฑน์​ ปัญญาคำ
8 พ.ย. 2562รู้เท่าทันอารมณ์ชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
12 ก.ย. 2562เรื่องเล่าจากห้องตรวจ ตอนที่ 1 รองเท้าของหนูอาทิติยา แดงสมบูรณ์
21 ม.ค. 2562การสร้างวินัยเชิงบวกกิตติมา สุริยกานต์
3 ม.ค. 2562ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
22 ต.ค. 2561โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
20 ก.ย. 2561อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังกิตติมา สุริยกานต์
20 ส.ค. 2561การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะกิตติมา สุริยกานต์
15 ส.ค. 2561บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์สุฑาทิพย์ คำเที่ยง
16 ก.ค. 2561สร้างคุณค่าในตนเอง เสริมภูมิคุ้มกันในชีวิตสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
19 มิ.ย. 2561ไม่มีที่พักเมื่อจะมาพบแพทย์กิตติมา สุริยกานต์
20 เม.ย. 2561ค่าเดินทางสำคัญอย่างไรกิตติมา สุริยกานต์
6 ก.ค. 2560มาผิดวันนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

ค่าเดินทางสำคัญอย่างไร

เล่าเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 61
โดยกิตติมา สุริยกานต์

ผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ เป็นโรคที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง บางโรคมีความซับซ้อนรุนแรง ต้องได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพหลายสาขา ในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ผู้ป่วยจึงต้องมาพบแพทย์หลายครั้ง โดยเฉพาะช่วงแรกของการวินิจฉัยโรค ต้องได้รับการประเมินจากทีมในหลายๆด้าน ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมาก ทั้งค่ารถโดยสาร ค่าครองชีพ ค่าอาหาร โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัด การเดินทางในบางพื้นทีมีความยากลำบาก มีหลายครอบครัวที่อยากมารักษาแต่ไม่มีค่าเดินทางทำให้การรักษาพยาบาลไม่ต่อเนื่อง บางรายได้รับการรักษาที่ล่าช้าเกินไป ทำให้มีผลต่อพัฒนาการ การรักษาทำได้ยากขึ้น

ด.ช.ปลื้ม (นามสมมุติ) อายุ 3 ปี เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่มีปัญหาดังกล่าว ผู้ป่วยเป็นโรคกะโหลกศรีษะปิดก่อนกำหนด มีนิ้วโป้งข้างขวาเกินมา1นิ้ว ได้รับการส่งตัวจากโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งมารักษากับแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมงเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร โดยต้องเดินทางด้วยรถโดยสารและเรือ มีค่าเดินทางประมาณครั้งละ 2,500-3,000 บาท รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าครองชีพและค่าอาหารด้วย บิดามีอาชีพก่อสร้าง รายได้วันละ 300 บาท มารดาไม่ได้ทำงานเนื่องจากต้องดูแลบุตรอีก 1 คน อายุ 1ปีกว่า บิดามีหนี้สินประมาณ 20,000 บาท เนื่องจากนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเป็นค่าเดินทางมาพบแพทย์ ครอบครัวของผู้ป่วยอยากให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่รู้สึกเครียดและวิตกกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์เป็นอย่างมาก

ดังนั้นการพิจารณาให้ความช่วยเหลือในเรื่องค่าเดินทาง ค่าครองชีพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจ และช่วยสนับสนุนด้านกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ในการมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการดูแลทั้งมิติสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อประเมินการให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนให้คำแนะนำในเรื่องการวางแผนการเดินทาง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นการสร้างรอยยิ้มและความหวังให้กับผู้ป่วยและครอบครัวในการรักษาพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง