'.$description; ?>

Heading for Printing

คลินิกเคลื่อนที่ โดยศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

คลินิกเคลื่อนที่เป็นจุดเชื่อมโยงผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาเชิงคุณภาพ

คลินิกเคลื่อนที่เน้นการรักษาแบบคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ

คลินิกเคลื่อนที่ไม่ใช่การออกหน่วย ไม่มีการผ่าตัดจำนวนมากๆ ในเวลาอันจำกัด ไม่มีเป้า ไม่มียอดคนไข้

คลินิกเคลื่อนที่ บุรีรัมย์ 2561

29 พฤศจิกายน 2566
ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

ความพิการผิดรูปของใบหน้าเป็นสิ่งที่มีความรุนแรงเสมอสำหรับตัวผู้ป่วยเอง ไม่ว่าจะเป็นมากน้อยเพียงใด ปัจจุบันคนส่วนใหญ่รู้จักแต่ปากแหว่งเพดานโหว่ ทั้งที่ความจริงแล้ว ยังมีความพิการอีกมากมายและรุนแรงกว่าปากแหว่งเพดานโหว่ และดูแลรักษาได้ยากกว่าปากแหว่งเพดานโหว่มาก

แม้แต่ปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ที่จัดว่าเป็นความพิการอย่างง่ายแล้ว การดูแลรักษาที่ผู้ป่วยได้รับก็มักไม่ได้คุณภาพเท่ามาตรฐานสากล ผู้ป่วยมักได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเพียงครั้งหรือสองครั้ง ในขณะที่การดูแลผู้ป่วยเหล่านี้เป็นที่ทราบกันดีว่าต้องทำอย่างต่อเนื่อง และใช้ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา มีทั้งการผ่าตัดและการรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด การผ่าตัดที่ได้รับบ่อยครั้งทำโดยผู้ที่ไม่ได้ชำนาญอย่างแท้จริง ไม่มีความพร้อมอย่างแท้จริง หรือทำในสภาพเร่งรีบที่เน้นจำนวนมากกว่าคุณภาพ จึงพบมีภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต แต่ถูกปกปิดเอาไว้

ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ อยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ เพียบพร้อมไปด้วยเครื่องมือแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของใบหน้าและศีรษะมานานกว่า 30 ปี เป็นที่รู้จักดีในวงการว่าสามารถจัดการกับความพิการบนใบหน้าที่รุนแรงประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะปากแหว่งเพดานโหว่

จากประสบการณ์ที่ยาวนานพบว่า ผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด การเดินทางเข้าสู่เมืองหลวงนับเป็นอุปสรรคและความยากลำบากประการหนึ่งที่ซ้ำเติมความโชคร้ายที่เกิดขึ้นกับสมาชิกของครอบครัว

การที่ผู้ป่วยเด็กสักคนจะสามารถเดินทางเข้ามาตรวจรักษาผ่าตัด เป็นความเดือดร้อนของทั้งครอบครัว มีทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ที่พัก ค่าใช้อื่นๆ และการเสียโอกาสในการทำมาหากิน สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเบิกหรือชดเชยได้ด้วยระบบประกันสุขภาพ

การรักษาหลายๆ อย่างก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำที่โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพ เพราะความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศ

ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ จึงได้ริเริ่มโครงการที่เรียกว่า คลินิกเคลื่อนที่ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย

วิธีดำเนินการในช่วงก่อนโควิด

แทนที่ผู้ป่วยจะต้องเดินทางมากับครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ต้องมีพ่อแม่มาด้วย ต้องเข้ามาในรพ.ใหญ่ในกรุงเทพ ทีมสหสาขาของศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ยกทีมออกไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเป็นประจำ

ทีมผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ตกแต่ง ประสาทศัลยแพทย์ กุมารแพทย์ ทันตแพทย์จัดฟัน จักษุแพทย์ แพทย์โสต ศอ นาสิก วิสัญญีแพทย์ นักแก้ไขการพูด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล

ทีมผู้เชี่ยวชาญที่ออกปฏิบัติภารกิจในแต่ละพื้นที่ จะประกอบด้วยบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุคลากรจิตอาสาจากโรงพยาบาลและศูนย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขความพิการบนใบหน้าที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ

ทีมผู้เชี่ยวชาญจะร่วมกันตรวจวินิจฉัยให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไรมีความพิการอย่างไร และวางแผนการรักษาแบบต่อเนื่องยาวนาน ทำด้วยเดียวกับมาตรฐานเดียวกับที่รพ.จุฬาลงกรณ์ ไม่แตกต่างจากในประเทศที่เจริญแล้ว

ในช่วงเวลาการออกพื้นที่ของคลินิกเคลื่อนที่ จะไม่มีการผ่าตัดผู้ป่วยจำนวนมากๆ ภายในเวลาอันจำกัด การผ่าตัดที่จะเกิดขึ้นจะมีการนัดหมายล่วงหน้าอย่างเหมาะสมกับปัญหาหรือโรคที่เป็น

ถ้าการผ่าตัดไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีการดูแลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดเป็นพิเศษ ก็สามารถทำที่โรงพยาบาลที่มีความพร้อมและอยู่ใกล้บ้านผู้ป่วยได้ และจะเป็นการดำเนินการร่วมกันจะมีผู้เชี่ยวชาญของศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญประจำโรงพยาบาลในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการ

หากเป็นการรักษาและผ่าตัดที่จำเป็นต้องทำที่รพ.จุฬาลงกรณ์ ทางศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ก็จะช่วยเหลือและสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าเดินทาง ที่พัก และค่ารักษาผ่าตัดโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

กระบวนการรักษาดังว่านี้ ทางศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ จะติดตามดูแลต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ผู้ป่วยมีลักษณะใบหน้าและศีรษะใกล้เคียงปกติที่สุด ผู้ป่วยที่ทางศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ได้ตรวจได้รับไว้ดูแลรักษา ทางศูนย์ฯ จะถือว่าได้มาเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นครอบครัวศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ

นอกเหนือไปจากการดูแลทางกายแบบครบวงจรด้วยคุณภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยผู้ป่วยไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายแล้ว ทางศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ยังให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจและสังคม

ทุกครั้งที่มีคลินิกเคลื่อนที่ บริษัทเอกชนและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ จะมาร่วมให้ความช่วยเหลือในการจ้างงาน การจัดหาอาชีพ และฝึกแรงงาน มีจิตอาสามาร่วมกันจัดการแสดงและสันทนาการระหว่างรอตรวจ รวมถึงของขวัญ การจับสลาก และกิจกรรมบันเทิงต่างๆ

คลินิกเคลื่อนที่จึงเป็นเสมือนการบริการแบบครบวงจร ทั้งทางกาย ใจ และสังคม ด้วยคุณภาพสูงสุด เฉกเช่นเดียวกับที่ทำ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลในพื้นที่ แต่เกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้บ้านผู้ป่วย เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่องอย่างยั่งยืน และสนับสนุนโดยจิตอาสาและประชาชน

วิธีดำเนินการในช่วงหลังโควิด

คลินิกเคลื่อนที่ 2566 โดยศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
คลินิกเคลื่อนที่ 2566 โดยศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โครงการคลินิกเคลื่อนที่ 2566
"ค้นหา รักษา ติดตาม"
ค้นหา
(ก) การค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กระทรวงสาธารณสุขและเหล่ากาชาดจังหวัด

ทางศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ได้ผลิต “คู่มือการดำเนินการ ฯ” เพื่อให้ผู้สำรวจเข้าใจขั้นตอนปฎิบัติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่น การได้เห็นรูปตัวอย่างผู้ที่มีความผิดปกติ ทำให้พิจารณาได้อย่างถูกต้องว่าควรจะส่งตัวมารับการรักษาหรือไม่

นอกจากนี้วิธีการส่งตัวผู้ป่วยยังสามารถทำได้ทาง "แบบฟอร์มการส่งตัวออนไลน์" และศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ก็จะได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว

คู่มือโครงการคลินิกเคลื่อนที่ 2566
แบบฟอร์มส่งตัวผู้ป่วยในโครงการคลินิกเคลื่อนที่ 2566
รักษา
(ข) การตรวจวินิจฉัยและวางแผนรักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญสหสาขาวิชาชีพ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

การตรวจผู้ป่วยแบบออนไลน์
ภาพการตรวจออนไลน์

เป็นการตรวจผ่านทางวิดิโอคอล เป็นการเชื่อมผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลเข้ากับทีมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยและครอบครัวไม่ต้องเสียเวลาเดินทางจากบ้านจากเรือนไปยังเมืองใหญ่จนกว่าจะถึงวาระที่จำเป็น

หมอหมู่ โครงการคลินิกเคลื่อนที่ 2566
ส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพ
ติดตาม
(ค) การติดตามผู้ป่วยให้ได้รับการตรวจรักษาตามแผนที่วางไว้

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ทางศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ จัดให้มีพยาบาลดูแลผู้ป่วย (case manager) ทุกรายอย่างใกล้ชิด   คอยสอบถามความต้องการ ติดตามประสานงานต่าง ๆ เสมือนคนในครอบครัว ช่วยขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการและการตรวจรักษา   พยาบาลดูแลผู้ป่วยเป็นกลไกสำคัญ เชื่อมต่อระหว่างผู้ป่วยกับศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ดูแลกันทั้งกาย ใจ และสังคม

เชิญร่วมบริจาคช่วยเหลือโครงการคลินิกเคลื่อนที่ 2566
"หมอหมู่"
ภารกิจ พิชิตความเจ็บป่วย

ร่วมบริจาคเงินผ่านบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี “สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย (2)”   ประเภทบัญชี: ออมทรัพย์  เลขที่บัญชี: 045-2-62588-8

หากประสงค์รับใบเสร็จ

  1. โปรดแจ้งชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และระบุว่า “เพื่อโครงการคลินิกเคลื่อนที่ฯ”   พร้อมแนบสลิปการโอนทางอีเมล์ donation@redcross.or.th หรือ โทรสาร 0 2250 0312, 0 2652 4440   หรือ
  2. สแกน QR Code E-donation โดยไม่ต้องแจ้งขอรับใบเสร็จ   เมื่อสแกนแล้ว ท่านจะพบข้อความปรากฏที่หน้าจอว่า “ท่านกำลังทำรายการ e-Donation"   ให้เลือกกด “ยอมรับ”   แล้วจะพบหน้าจอทำรายการบริจาคที่มีข้อความขึ้นว่า “เพื่อสภากาชาดไทย” และมีหมายเลข Biller ID 046MOHMOOFORTRC ตามด้วยช่องหมายเลขบัตรประชาชนของท่าน   เมื่อท่านทำรายการบริจาคดังกล่าว ข้อมูลของท่านจะถูกส่งไปที่กรมสรรพากร   แต่หากไม่ปรากฏข้อมูลดังกล่าว ให้ท่านยกเลิกรายการทันที   โดยท่านสามารถตรวจสอบประวัติการบริจาคได้ที่ https://www.rd.go.th/62336.html

#หมอหมู่ #รับเพื่อให้ #donationhub #จุฬาฯใส่ใจอยู่ไกลเราไปหา #PrincessSirindhornCraniofacialCenter #ที่นี่เราใช้มือในการผ่าตัดคนไข้และใช้หัวใจในการดูแล

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

ความก้าวหน้าของโครงการจะถูกบันทึกในหน้าเว็บนี้เป็นระยะ ๆ

การรักษาผ่าตัด ณ โรงพยาบาลในพื้นที่

วันที่ สถานที่ กิจกรรม บุคลากร
9 มี.ค. 2559 รพ.ชลบุรี ส่องกล้องตรวจประเมินการพูดไม่ชัดในผุ้ป่วยเพดานโหว่ ซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดชลบุรี รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์, นส. เพชรรัตน์ ใจยงค์
25 มี.ค. 2559 รพ.อุดรธานี ผ่าตัดสร้างใบหูจากกระดูกซี่โครง ผู้ป่วยไม่มีใบหูแต่กำเนิด มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุดรธานี รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
10 พ.ค. 2559 รพ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรวจผู้ป่วยใหม่ 2 ราย ผู้ป่วยเก่า 1 ราย ผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ร่วมกับลิ้นยึดติด ผู้ป่วยโรคเอเพิร์ต และผู้ป่วยโรคเทรเชอร์-คอลลินส์ รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์, ผศ.นพ. พรเลิศ ฉัตรแก้ว และพญ.ชุติมา จิรภิญโญ
21 มิ.ย. 2559 รพ.ลำปาง ผ่าตัดผู้ป่วยโรคเอเพิร์ต มีนิ้วมือติดเชื่อมจนใช้การไม่ได้ รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
5 ก.ค. 2559 รพ.นครศรีธรรมราช ผ่าตัดผู้ป่วยโรคเอเพิร์ต ผู้ป่วยโรคไฟเฟอร์ และผู้ปวยโรคฟรอนโตเนซัล ดิสเพลเซีย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
25-26 ก.ค. 2559 รพ.บุรีรัมย์ ตรวจผู้ป่วยเก่า 1 ราย และผ่าตัดผู้ป่วยโรคปากแหว่ง ผู้ปวยโรคฟรอนโตเนซัล ดิสเพลเซีย ผู้ป่วยโรคงวงช้าง ผู้ป่วยกะโหลกศีรษะเชื่อมติดก่อนกำหนด และผู้ป่วยใบหน้าเล็กแต่กำเนิด รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
15-16 ส.ค. 2559 รพ.อุดรธานี ตรวจผู้ป่วยเก่า ผ่าตัดผู้ป่วยโรคไฟเฟอร์ ผู้ป่วยโรคปากแหว่ง และผู้ปวยไม่มีใบหูแต่กำเนิด รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
26-27 ธ.ค. 2559 รพ.บุรีรัมย์ ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 ราย และผู้ป่วยเก่า 2 ราย ผ่าตัดผู้ป่วยโรคไฟเฟอร์ ผู้ป่วยโรคปากแหว่ง ใบหูผิดรูปแต่กำเนิด เปลือกตาผิดรูปจากอุบัติเหตุ ใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด โรคเอเพิร์ตมีนิ้วมือติดเชื่อมจนใช้การไม่ได้ รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
10 ก.พ. 2560 รพ.ระยอง ตรวจผู้ป่วยเก่า 1 ราย ผ่าตัดผู้ป่วยโรคปากแหว่ง ใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 2 ราย เปลือกตาตกแต่กำเนิด รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ และพญ.ชุติมา จิรภิญโญ
22-23 ก.พ. 2560 รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ตรวจผู้ป่วยใหม่ 2 ราย ผ่าตัดผู้ป่วยเพดานโหว่(ซึ่งเคยถูกผ่าตัดตอนมีการออกหน่วยเคลื่อนที่ในอดีต แต่ทำไม่สำเร็จ) โรคปากแหว่ง (ซึ่งเคยถูกผ่าตัดตอนมีการออกหน่วยเคลื่อนที่ในอดีต แต่ไม่สำเร็จ) ใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด เนื้องอกเส้นเลือดดำtd> รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
3 มี.ค. 2560 รพ.ระยอง ผ่าตัดผู้ป่วยโรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 ราย ปากแหว่ง 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
17 มี.ค. 2560 รพ.สระบุรี ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 ราย ผ่าตัดผู้ป่วยแยกน้ิวติดกันจากกลุ่มอาการเอเพิร์ต 1 ราย เพดานโหว่และลิ้นมีพังผืด 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ และพญ.ชุติมา จิรภิญโญ
20-21 เม.ย. 2560 รพ.อุดรธานี ผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่ง 1 ราย ตกแต่งปากและจมูกผู้ป่วยโรคปากแหว่ง 3 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
24 พ.ค. 2560 รพ.สุพรรณบุรี ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 ราย ผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่ง 1 ราย เพดานโหว่ 1 ราย ปากแหว่งและเพดานโหว่ 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
14 ก.ค. 2560 รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ตรวจผู้ป่วยใหม่ 2 ราย ผ่าตัดสร้างจมูก 1 ราย เพดานโหว่ 1 ราย ตกแต่งปากและจมูกจากโรคปากแหว่ง 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
12 ต.ค. 2560 รพ.สมุทรปราการ ผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่ง 1 ราย เพดานโหว่ 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
10 พ.ย. 2560 รพ.ชลบุรี ผ่าตัดสร้างจมูกในโรคโกลเดนฮาร์ 1 ราย ตกแต่งจมูกในโรคปากแหว่ง 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
14-15 พ.ย. 2560 รพ.บุรีรัมย์ ผ่าตัดแยกนิ้วโรคเอเพิร์ต 1 ราย สร้างตาล่างในโรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 ราย สร้างจมูกในโรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
15 ก.พ. 2561 รพ.อุดรธานี ผ่าตัดตกแต่งจมูกในโรคฟรอนโตเนซัล 1 ราย สร้างใบหูขั้นที่สอง 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
22 มี.ค. 2561 รพ.ตรัง ตรวจผู้ป่วยใหม่ 3 ราย ผ่าตัดเปลือกตาล่างแก้ไขขนทิ่มตาดำ 1 ราย ตัดเนื้องอกเยื่อหุ้มเส้นประสาทในโรคท้าวแสนปม 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
3-5 เม.ย. 2561 รพ.บุรีรัมย์ คลินิกเคลื่อนที่สหสาขาเต็มรูปแบบ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 63 พรรษาในวันที่ 2 เมษายน 2561 ค้นหาผู้ป่วยในเขตอีสานใต้ 11 จังหวัด ผ่าตัดเพดานรั่ว 1 ราย ตกแต่งจมูกในโรคงวงช้าง 1 ราย แยกนิ้วติดกันโรคเอเพิร์ต 1 ราย คณะทำงานทั้งคณะของศูนย์ฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในอีสานใต้
20 เม.ย. 2561 รพ.ชลบุรี ตรวจผู้ป่วยใหม่ 3 ราย ผ่าตัดเพดานโหว่ชนิดรุนแรงในโรคสมองส่วนไรเนนเซฟาลีผิดปกติ 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
14 มิ.ย. 2561 รพ.สระบุรี ผ่าตัดเพดานโหว่ 1 รายและแก้ไขจมูกผิดรูปจากปากแหว่ง 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
27 มิ.ย. 2561 รพ.ระยอง ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 ราย เพดานรั่วจากการผ่าตัดในอดีต ผ่าตัดแก้ไขใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 2 รายและโรคงวงช้าง 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
17-18 ก.ค. 2561 รพ.บุรีรัมย์ ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 ราย เพดานรั่วจากการผ่าตัดในอดีต ผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่ 2 รายและเนื้องอกต่่อมน้ำลาย 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์, นพ.คชา อริยะธุกันต์
8 ส.ค. 2561 รพ.ภูเก็ต ผ่าตัดแก้ไขปากแหว่ง 1 รายและส่องกล้องตรวจเสีียงพูดผิดปกติจากโรคเพดานแหว่ง 1 ราย รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
31 ต.ค. 2561 รพ.ระยอง ผ่าตัดแก้ไขใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 2 ราย และสร้างใบหู 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
23 พ.ย. 2561 รพ.ชลบุรี ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 ราย เพดานรั่วจากการผ่าตัดในอดีต ผ่าตัดแก้ไขใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 ราย ตกแต่งจมูกผิดปกติจากปากแหว่ง 1 iาย และโรคงวงช้าง 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
21 ธ.ค. 2561 รพ.เชียงราย ผ่าตัดแก้ไขใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
27 มี.ค. 2562 รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ผ่าตัดแก้ไขใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
3-4 เม.ย. 2562 รพ.บุรีรัมย์ คลินิกเคลื่อนที่สหสาขาเต็มรูปแบบ คณะทำงานทั้งคณะของศูนย์ฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในอีสานใต้
19 เม.ย. 2562 รพ.ชลบุรี ผ่าตัดแก้ไขขนตาล่างแทงเข้าลูกตา 1 ราย และฉีดไขมันเพิ่มขนาดแก้ม 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
22 พ.ค. 2562 รพ.วชิระภูเก็ต ผ่าตัดตกแต่งปากและจมูกจากปากแหว่งเพดานโหว่ 1 ราย และผ่าตัดแก้ไขเพดานรั่วขนาดใหญ่จากการผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่ในอดีต 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
26 มิ.ย. 2562 รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ตรวจผู้ป่วยใหม่ 2 คน ผู้ป่วยเก่า 3 คน  ผ่าตัดแก้ไขเพดานรั่วขนาดใหญ่จากการผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่ในอดีต 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
5 ก.ค. 2562 รพ.ชลบุรี ผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่ 1 ราย และสร้างใบหู(ติ่งหู) 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
31 ก.ค. 2562 รพ.บุรีรัมย์ ตรวจผู้ป่วยใหม่ 4 คน ผู้ป่วยเก่า 1 คน  ผ่าตัดแก้ไขเพดานรั่วขนาดใหญ่จากการผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่ในอดีต 1 ราย และผ่าตัดลดขนาดใบหน้าข้างขวา(โรคใบหน้าใหญ่ครึ่งซีกแต่กำเนิด) 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
7 ส.ค. 2562 รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ผ่าตัดสร้างปีกจมูก(โรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด) 1 ราย และผ่าตัดสร้างกะโหลกศีรษะ(ศีรษะยุบหายจากอุบัติเหตุ) 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
28 ส.ค. 2562 รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 คน ผ่าตัดเพิ่มขนาดขากรรไกรล่างด้วยอุปกรณ์ยืดขยายขนาดกระดูก(กลุ่มอาการเทรชเชอร์ คอลลินส์) 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
4 ต.ค. 2562 รพ.ชลบุรี ผ่าตัดตกแต่งเปลือกตาและปากผู้ป่วยโรคใบหน้าแหว่ง 1 ราย และผู้ป่วยปากแหว่งและใบหูผิดรูป 1 ราย ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
9 ต.ค. 2562 รพ.ชลบุรี ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 คน เป็นโรคใบหน้าเล็กแต่กำเนิด ผู้ป่วยเก่า 2 คน ใบหน้าใหญ่ผิดปกติแต่กำเนิดและใบหน้าเล็กแต่กำเนิด  ผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งและมีน้ำขังในหูชั้นกลาง 1 คน และผ่าตัดนิ้วมือผิดปกติในผู้ป่วยด้วยกลุ่มอาการเอเพิร์ต 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
24 ต.ค. 2562 รพ.มหาราชนครราชสีมา ผ่าตัดผู้ป่วยมีปากและลิ้นติดกันอ้าปากไม่ได้ 1 คน ผ่าตัดปลูกกระดูกแก้ไขเหงือกแหว่ง 1 คน และผ่าตัดถอดอุปกรณ์ยืดขยายกระดูกใบหน้าผู้ป่วยกลุ่มอาการเอเพิร์ต 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
27 พ.ย. 2562 รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ คลินิกเคลื่อนที่สหสาขาเต็มรูปแบบ ค้นหาผู้ป่วยในเขตจังหวัดเชียงรายและพะเยาเพื่อตรวจประเมินและวางแผนการรักษา 45 คน คณะทำงานทั้งคณะของศูนย์ฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในภาคเหนือ
28 พ.ย. 2562 รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ผ่าตัดแก้ไขความพิการของปากบนภายหลังการซ่อมปากแหว่ง 1 คน และผ่าตัดปิดรูรั่วเพดานโหว่ภายหลังการซ่อมเพดานโหว่ 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
4 ธ.ค. 2562 รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ผ่าตัดถอดอุปกรณ์ยืดขยายกระดูกใบหน้าผู้ป่วยกลุ่มอาการไฟเฟอร์ 1 คน ผ่าตัดเปิดรูจมูกตีบตัน 1 คน และผ่าตัดซ่อมความพิการของปากบนภายหลังการซ่อมปากแหว่ง 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
25 ธ.ค. 2562 รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ตรวจผู้ป่วยใหม่ 3 คน และผ่าตัดติดตั้งอุปกรณ์ยืดขยายกระดูกขากรรไกรล่างในผู้ป่วยกลุ่มอาการเทรชเชอร์คอนลินส์ 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
22 ม.ค. 2563 รพ.ระยอง ตรวจผู้ป่วยใหม่ 1 คน และผ่าตัดปากแหว่ง 1 คนและยกเปลือกตาบนในผู้ป่วยท้าวแสนปม 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
31 ม.ค. 2563 รพ.จันทบุรี ผ่าตัดปากแหว่ง 1 คนและตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติด้านการพูด 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
12 ก.พ. 2563 รพ.สุรินทร์ ตรวจผู้ป่วยเก่า 1 ราย ผ่าตัดแก้ไขหนังตาผิดปกติขนตาทิ่มแทงตา 2 คนและแก้ไขใบหน้าแหว่ง 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
28 ก.พ. 2563 รพ.พระนั่งเกล้า ผ่าตัดแก้ไขปากแหว่ง 1 คนและแก้ไขใบหูขวาผิดปกติในโรคท้าวแสนปม 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
4 มี.ค. 2563 รพ.บุรีรัมย์ ผ่าตัดแยกนิ้วติดกันจากกลุ่มอาการเอเพิร์ต 1 คนและฉีดไขมันแก้ไขใบหน้าผิดปกติจากโรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
11 มี.ค. 2563 รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ตรวจติดตามผู้ป่วยเก่า 3 คน  ผ่าตัดถอดอุปกรณ์ขยายกระดูกใบหน้าส่วนกลางผู้ป่วยกลุ่มอาการครูซอง 1 คน และแก้ไขใบหน้าผิดปกติจากโรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
15 ก.ค. 2563 รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ผ่าตัดขากรรไกรล่างผู้ป่วยกลุ่มอาการเทรชเชอร์-คอลลินส์ 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
24 ก.ค. 2563 รพ.ชลบุรี ผ่าตัดสร้างใบหูจากกระดูกซี่โครง 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
4 ส.ค. 2563 รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ตรวจประเมินภาวะ velopharyngeal insufficiency และผ่าตัดสร้างใบหูจากกระดูกซี่โครงผู้ป่วยใบหน้าเล็กแต่กำเนิด 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
20-21 ส.ค. 2563 รพ.มหาราชนครราชสีมา ผ่าตัดผู้ป่วย 4 คน ได้แก่ ผ่าตัดแก้ไขจมูกผิดรูป ผ่าตัดแยกนิ้วมือผิดรูปจากกลุ่มอาการเอเพิร์ต ผ่าตัดสร้างร่องเปลือกตา และผ่าตัดความพิการผิดรูปของแก้มและปีกจมูก ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
1-2 ต.ค. 2563 รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ผ่าตัดสร้างใบหูจากกระดูกซี่โครง 2 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
26 พ.ย. 2563 รพ.ชลบุรี ผ่าตัด 2 คน เป็นการแก้ไขจมูกผิดรูปในโรคงวงช้างและแก้ไขแก้มผิดรูปจากอุบัติเหตุ ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
17 ธ.ค. 2563 รพ.พระนั่งเกล้า ผ่าตัด 2 คน เป็นการแก้ไขเพดานมีรูรั่วภายหลังการผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่ 2 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
18 พ.ย. 2565 รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ผ่าตัด 2 คน เป็นการแก้ไขปากบนผิดรูปภายหลังการผ่าตัดซ่อมปากแหว่งและผ่าตัดแก้ไขจมูกผิดรูปจากโรคปากแหว่ง ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
25 พ.ย. 2565 รพ.ชลบุรี ผ่าตัดเป็นการแก้ไขปากบนผิดรูปภายหลังการผ่าตัดซ่อมปากแหว่ง 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
3 ก.พ. 2566 รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ผ่าตัดแก้ไขเพดานมีรูรั่วภายหลังการผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่ 1 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
31 มี.ค. 2566 รพ.ราชบุรี ผ่าตัด 2 คน เป็นการผ่าตัดแก้ไขปากบนผิดรูปภายหลังการผ่าตัดซ่อมปากแหว่งและผ่าตัดแก้ไขภาวะ velopharyngeal insufficiency ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
30 มิ.ย. 2566 รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ผ่าตัด 2 คน เป็นการผ่าตัดแก้ไขเพดานมีรูรั่วภายหลังการผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่และผ่าตัดถอดอุปกรณ์ขยายกระดูกขากรรไกรล่าง ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
14 ก.ค. 2566 รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ผ่าตัดแก้ไขใบหน้าผิดรูปจากโรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
25 ส.ค. 2566 รพ.พระปกเกล้า ผ่าตัด 2 คน เป็นการผ่าตัดแก้ไขปากบนผิดรูปภายหลังการผ่าตัดซ่อมปากแหว่งและผ่าตัดแก้ไขภาวะ velopharyngeal insufficiency ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
25 ต.ค. 2566 รพ.ระยอง ผ่าตัดแก้ไขปากบนและจมูกกผิดรูปภายหลังการผ่าตัดซ่อมปากแหว่ง ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
30 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2566 รพ.สงขลานครินทร์ รับปรึกษาผู้ป่วย 1 คน เป็น rhinencephalic dysplasia และผ่าตัดตกแต่งโหนกแก้มให้เป็นปกติ (ภายหลังการผ่าตัดขยายขนาดใบหน้าส่วนกลางในกลุ่มอาการครูซอง) ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
2 ม.ค. 2567 รพ.ชลบุรี ผ่าตัดแก้ไขเปลือกตาล่างผิดรูป ectropion (โรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด) ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
22 ก.พ. 2567 รพ.พระนั่งเกล้า ผ่าตัด 2 ราย แก้ไขปากบนผิดปกติและถอดเครื่องมือเพิ่มขนาดใบหน้าส่วนกลาง ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
12 มี.ค. 2567 รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ตรวจติดตามผู้ป่วยเก่า 1 คน  รับปรึกษาผู้ป่วยใบหน้าแหว่งแต่กำเนิดของทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร 1 คน  ผ่าตัดแก้ไขจมูกผิดรูปจากโรค frontonasal dysplasia 1 คน และแก้ไขใบหูเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ 2 คน ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์