'.$description; ?>

Heading for Printing

การศึกษาพิเศษของคนพิการ

ฝากถึงคุณแม่คุณพ่อ - การศึกษาพิเศษของคนพิการ

บทความสำหรับพ่อแม่

วันที่ เรื่อง ผู้แต่ง
24 พ.ค. 2564ที่พักใจในยามที่ใจถูกรุมเร้าชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
6 พ.ค. 2563สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคมสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
15 มี.ค. 25636 เคล็ดลับที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุขกิตติมา สุริยกานต์
4 มี.ค. 2563เข็น ...ใจชุติมณฑน์​ ปัญญาคำ
8 พ.ย. 2562รู้เท่าทันอารมณ์ชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
12 ก.ย. 2562เรื่องเล่าจากห้องตรวจ ตอนที่ 1 รองเท้าของหนูอาทิติยา แดงสมบูรณ์
21 ม.ค. 2562การสร้างวินัยเชิงบวกกิตติมา สุริยกานต์
3 ม.ค. 2562ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
22 ต.ค. 2561โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
20 ก.ย. 2561อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังกิตติมา สุริยกานต์
20 ส.ค. 2561การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะกิตติมา สุริยกานต์
15 ส.ค. 2561บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์สุฑาทิพย์ คำเที่ยง
16 ก.ค. 2561สร้างคุณค่าในตนเอง เสริมภูมิคุ้มกันในชีวิตสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
19 มิ.ย. 2561ไม่มีที่พักเมื่อจะมาพบแพทย์กิตติมา สุริยกานต์
20 เม.ย. 2561ค่าเดินทางสำคัญอย่างไรกิตติมา สุริยกานต์
6 ก.ค. 2560มาผิดวันนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

การศึกษาพิเศษของคนพิการ

เล่าเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 64
โดยกิตติมา สุริยกานต์

ผู้ปกครองมักจะสอบถามว่าหากลูกมีความผิดปกติบนใบหน้าแล้วจะสามารถเรียนหนังสือได้หรือไม่ และเรียนได้ที่ไหน

ก่อนอื่นอยากสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองก่อนในเรื่องรูปแบบของการศึกษาพิเศษสําหรับเด็กพิการว่าคืออะไร มีรูปแบบใดบ้าง หลังจากที่เด็กเริ่มเข้าสู่วัยเรียนและแพทย์ได้ประเมินแล้วว่าสามารถเข้าโรงเรียนได้

การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาสําหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ หรือไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้วยโอกาส

การศึกษาพิเศษเน้นการเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด  เนื้อหาหลักสูตรเน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจําวัน ควบคู่ ไปกับทักษะทางวิชาการ  การศึกษาพิเศษ มีการจัดการศึกษาและบริการเพื่อสนับสนุนให้กับบุคคลที่มีความต้องการทางการศึกษาเป็นพิเศษ 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
  2. กลุ่มเด็กพิการที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
  3. กลุ่มด้อยโอกาสและต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ

กลุ่มที่มักจะกล่าวถึงในเรื่องการศึกษาพิเศษ คือ สองกลุ่มหลัง ซึ่งมักจะพบเจอในระบบโรงเรียนและควรได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องเพื่อให้เด็กพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย

มี 3 รูปแบบ คือ

  1. การเรียนร่วม - เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติ มีทั้งแบบเต็มเวลา คือ เรียนร่วมกันทั้งวัน และเรียนร่วมเฉพาะบางวิชา
  2. การจัดตั้งโรงเรียนและศูนย์การเรียนเฉพาะเพื่อการศึกษาพิเศษ - เป็นรูปแบบที่จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละลักษณะโดยเฉพาะ เช่น โรงเรียนสอนคนหูหนวก โรงเรียนสอนคนตาบอด  หรือจัดตั้งเป็นชั้นเรียนเฉพาะในโรงเรียนปกติ เช่น ชั้นเรียนเด็กพิเศษ
  3. การหมุนเวียนครูการศึกษาพิเศษ - เป็นรูปแบบสําหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนครูการศึกษาพิเศษหรือมีจํานวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก โดยครูการศึกษาพิเศษจะหมุนเวียนไปตามโรงเรียนหรือศูนย์การเรียนรู้สําหรับเรียนร่วม

พบว่ายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องนักในหมู่ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มักมองว่าเด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้และไม่เหมาะจะมาโรงเรียน  กลัวโดนล้อ โดนครูตําหนิ จึงไม่กล้าส่งลูกมาเรียน  แท้ที่จริงการเรียนร่วมมีข้อดีมากมาย ดังต่อไปนี้

  1. การเรียนร่วมเป็นการสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับผู้ปกครองที่มีต่อเด็ก เชื่อมันในศักยภาพของเด็กว่า พัฒนาได้  มองข้ามความบกพร่องในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้แสดงตนมากขึ้น
  2. การเรียนร่วมช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะไม่ต้องจ้างครูพิเศษมาดูแล
  3. การเรียนร่วมช่วยส่งเสริมศักยภาพของเด็กที่มีความพิเศษ ทําให้พวกเขาค้นหาศักยภาพที่มีในตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งศักยภาพนั้นอาจนํามาสู่ประโยชน์ของโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนประเทศชาติได้ในภายหลัง  เมื่อเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และหากเด็กเกิดความสนใจกิจกรรมใดเป็นพิเศษ คุณครูก็สามารถช่วยส่งเสริมความสนใจนั้นและฝึกฝนพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ
  4. การเรียนร่วมทําให้เด็กในชั้นเรียนเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีเมตตา กรุณา มีนํ้าใจ และพร้อมจะให้การช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า
  5. การเรียนร่วมช่วยให้ไม่เกิดการแบ่งแยกบุคคลเพราะความแตกต่าง ความบกพร่อง หรือความพิการ และทําให้เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสม
  6. การเรียนร่วมช่วยจําลองการใช้ชีวิตระหว่างคนปกติและคนที่มีความต้องการพิเศษ ส่งเสริมเรื่องทักษะชีวิต การเข้าสังคม กฏระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน ทําให้ทั้ง 2 กลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
  7. การเรียนร่วมช่วยสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้กับบุคคลทั่วไป และแสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติ

ทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถขอคําปรึกษาแนะนําได้ที่โรงเรียนใกล้บ้านและศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัด เพื่อหาที่เรียนที่เหมาะสมกับบุตรต่อไป  แม้จะมีบุตรเป็นเด็กพิเศษแต่ปัจจุบันมีทางเลือกในการการศึกษามากยิ่งขึ้น

ที่มา : www.happyhomeclinic.com และ www.Trueplookpanya.com